เคยได้ยินกันไหมว่า
” กัญชาไทย ดีที่สุดในโลก “ ประโยคนี้จริงหรือไม่ ?
กัญชาทั่วโลก มีอยู่มากมาย ในการศึกษาถึงปัจจุบันมีมากกว่าหมื่นสายพันธุ์ มีหลักฐานการเริ่มใช้กัญชาในประเทศฝั่งตะวันตกมามากกว่า 5,000 ปี พบว่ากัฐชามีผลในการบรรเทาอาการป่วยหลายอาการทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ขณะเดียวกันก็เกิดอาชญากรรมขึ้นมากมายจากลุ่มผู้ใช้กัญชา กัญชาจึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มสารเสพติดเนื่องมาจากผู้ใช้ส่วนหนึ่งมีพฤติกรรมที่เสพติดและไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
จนกระทั่งมีครอบครัวหนึ่ง ซึ่งมีเด็กหญิงวัย 5 ขวบ ชื่อ Charlotte’s Web ที่มีอาการชักที่ไม่มียารักษาได้ (Dravet syndrome) เด็กหญิงมีอาการชักถึง 300 ครั้งต่อสัปดาห์ และไม่สามารถขยับเขยื้อนร่างกายได้ ทางครอบครังได้ยินเกี่ยวกับการใช้กัญชาในเด็กที่มีอาการชัก จึงพยายามหากัญชามาใช้ ผลปรากฏว่า เพียงหยดแรก
เด็กหญิงสามารถขยับร่างกายได้บ้าง เด็กหญิง Charotte ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เกิดเป็นการจุดประกายในการใช้กัญชาทางการแพทย์
ในปัจจุบัน กัญชาได้ถูกปลดล็อคให้สามารถใช้เป็นกัญชาทางการแพทย์ได้ในหลายประเทศทั่วโลก จึงได้มีการศึกษาอย่างจริงจัง มีองค์ความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย รวมทั้งเรื่องสายพันธุ์กัญชา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกในการเลือกใช้กัญชา เนื่องจากกัญชาแต่ละสายพันธุ์ มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างมากมาย รวมถึงวิธีการปลูกที่แตกต่างกัน ก็จะให้สารออกฤทธิ์ที่ต่างกัน
สายพันธุ์กัญชาที่พบบ่อยมี 3 สายพันธุ์
1. Cannabis sativa กัญชาสายพันธุ์ไทย เติบโตได้ดีในประเทศรอบเส้นศูนย์สูตร เช่น ไทย,อินเดีย,จาไมกา,เม็กซิโก ชอบลักษณะอากาศแบบร้อนชื้นต้นจะสูง
ตั้งแต่ 1.5- 7.5 เมตร เป็นพืชไวแสง วันสั้นจะออกดอก ดอกจะยาว มักพบเชื้อรา เนื่องจากโตในสภาพแวดล้อมร้อนชื้น จึงมักพบยาฆ่าเชื่อราอยู่ในสารสกัดกัญชาที่ปลูกธรรมชาติ ใบเรียวยาว 5-9 แฉก กิ่งก้าวยาว กลิ่นปานกลาง มีกลิ่นปนเครื่องเทศ มี THC สูงมากและมี CBD ต่ำมาก ซึ่ง THC คือ สารที่มีผลต่อสมองและจิตประสาท มีฤทธิ์เสพติด ฤทธิ์ทำให้มึนเมา ลดการคลื่นไส้ อาเจียน กระตุ้นความอยากอาหาร
2. Cannabis indica จะพบบริเวณเอเชียกลางและตะวันออกกลาง ชอบที่ร่ม อาการเย็น ทั้งต้น ดอกใบจะอ้วนและเตี๊ยกว่า sativa มี CBD สูงกว่า THC ดังนั้นจะไม่มีมึนเมา ไม่เสพติด ลดการเจ็บปวดได้ดี ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดการอับเสบ ช่วยควบคุมอาการลมซัก
3. Cannabis ruderalis มี CBD สูง และ THC ต่ำ มักนำไปผสมข้ามสายพันธุ์กับ sativa และ indica เพื่อให้ได้สารออกฤทธิ์ที่เหมาะสมกับแต่ละวัตถุประสงค์
ในกัญชาทุกสายพันธุ์ไม่ได้มีสารออกฤทธิ์เพียง THC กับ CBD แต่ยังพบสารออกฤทธิ์ (Cannabinoids) มากถึง 144 ชนิดและยังค้นพบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงมีสารเคมีอื่นอีกมากกว่า 450 ชนิดโดยสารเคมีเหล่านี้ไม่ได้เป็นสารออกฤทธิ์โดยตรง แต่มีผลต่อคุณสมบัติอื่นของกัญชา เช่น กลิ่น รส อย่างไรก็ตาม THC และ CBD เป็นสารออกฤทธิ์ชนิดที่โดดด่วนพบมาก และมีการศึกษามากที่สุด
THC เป็นสารออกฤทธิ์ที่เด่นในกัญชาสายพันธุ์ไทย ดังนั้น คำกล่าวที่ “กัญชาไทยดีที่สุดในโลก” อาจหมายถึงทำให้เมาได้มากกว่าสายพันธุ์อื่น ทำให้คิดว่ากัฐชาไทยนั้น “แรงกว่า” สายพันธุ์อื่นนั้นเอง ซึ่งในความจริงแล้ว สารออกฤทธิ์ในกัญชามีหลายชนิดและมีข้อดีและข้อเสียที่ต่างกันไป เราสามารถทำการปรับปรุงสายพันธุ์เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่เหมาะสมกับแต่ละวัตถุประสงค์ในการรักษาคนไข้
ดังนั้น การศึกษาและการใช้ประโยชน์จากกัญชาอย่างแท้จริง ต้องเริ่มต้นจากการรู้จักสายพันธุ์กัญชา จะทำให้การใช้กัญชามีประโยชน์สูงสุด พร้อมกับความปลอดภัยสูงสุด สายพันธุ์ที่เหมาะสม จะเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้กัญชาทางการแพทย์ที่ถูกต้องอย่างแท้จริง
แผนกกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา ใช้น้ำมันกัญชามาตรฐาน จากองค์การเภสัชกรรม ซึ่งให้ความสำคัญตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์กัญชา วิธีการปลูก การสกัดสารออกฤทธิ์และผ่านการวิเคราะห์มาตรฐานของสารปนเปื้อน เพื่อให้ได้น้ำมันกัญชาที่เป็นมาตรฐาน ปลอดภัยกับผู้ใช้มากที่สุด
ภญ.สิรินภรณ์ ลิ่มวงศ์
ที่มา:
1. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24854149/
2. https://www.aappublications.org/news/2017/08/15/Charlottes-Web-Finally-Comes-Through-For-Seizure-Treatment-Grand-Rounds-8-15-17
3. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33526084/
4. Mechouulam, R., Hanuš, L.O., Pertwee, R., Howlett, A.C. Early phytocannabinoid chemistry to endocannabinoids and beyond. Nat. Rev. Neurol. 15 (2014): 757-764.
https://www.canceralliance.co.th/