การจัดการเงินในครัวเรือน กับความเสี่ยงในอนาคต

ในสังคมยุคโควิด 19 สิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ของเราคงหนีไม่พ้นเรื่อง เงิน ๆ ทอง ๆและ การจัดการเงินในครัวเรือน เพราะถือว่าเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยได้คือการประหยัดการรู้จักการจัดการบริหารเงิน  ยิ่งคนที่ตกงานด้วยแล้ว จะใช้เงินแต่ละบาทต้องคิดแล้วคิดอีก เพราะกว่าจะหางานได้เงินสำรองแทบไม่มี  หากใครที่ยังมีงานทำ มีรายได้ ก็ควรรู้จักการวางแผนการใช้เงินให้ดี เพราะเราไม่รู้ว่าสถานการณ์ในวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ดังนั้นเรามารู้จักการวางแผนจัดการเงินของเรากันดีกว่า เพื่อที่ว่าหากเราต้องเผชิญกับวิกฤติอีก เราจะได้รับมือได้อย่างไม่เดือดร้อนมากนัก ในที่นี้เราจะมาพูดถึงมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ ว่าเราควรมีการจัดการบริหารการเงินของเราอย่างไร เพื่อป้องกันความเสี่ยง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

หลักการจัดการการเงินในครัวเรือน 

หากแต่ละเดือนที่เราได้รับเงินเดือนมาใน  ให้นำมาจัดสรรปันส่วนไว้ โดยขึ้นอยู่รายได้ที่เราได้รับ

1.จัดสรรไว้เป็นเงินสำรอง เพื่อใช้จ่ายหมุนเวียนในครอบครัว รวมไปถึงเป็นค่าใช้จ่ายยามฉุกเฉิน  ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับรายได้ของแต่ละครัวเรือน อย่างน้อยขั้นต่ำควรมีสำรองไว้  3 – 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน  เพื่อใช้จ่ายในยามฉุกเฉินหารเราต้องถูกเลิกจ้าง อย่างน้อยเราก็มีเงินสำรองช่วงหางานทำใหม่  

2.ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน  

  • ค่าใช้จ่ายคงที่ ที่ต้องจ่ายประจำทุกเดือนเช่น  ใครมีค่าบ้าน ค่ารถ ค่าเครื่องใช้ไฟฟ้า ค่าบัตรเครดิต ที่ต้องผ่อน  และหนี้บัตรเครดิต ท่าน อย่าชะล่าใจในการใช้ซื้อของอย่าคิดว่ายังมีเวลา จะหาเงินมาจ่ายทีหลัง หรือมีเงินเพียงพอในธนาคาร แต่อย่าลืมว่าบัตรเครดิตนั้นมันสะดวก จะซื้ออะไร เห็นอะไรก็อยากได้ ยื่นแค่บัตรก็ได้มาแล้ว นั่นแหละจนทำให้ท่านใช้เงินเกินงบ จนทำให้เก็บเงิน เงินออมได้ไม่ถึงเป้าหมาย 
  • ค่าใช้จ่ายที่ไม่คงที่  เช่น  ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง
  • ใช้จ่ายเพื่อการออมโดยพยายามจัดสรรให้ค่าใช้จ่ายคงที่ในการผ่อนบ้านหรือ รถ ผ่อนบัตร  ไม่เกิน 30% ของรายได้ในครัวเรือน  เพื่อไม่ให้เกินความสามารถในการชำระหนี้ของเรา  และเราไม่ควรมีหนี้สินมากกว่า 50% ของสินทรัพย์ ทั้งหมดของเรา  

3.เงินออมหรือเงิน เก็บเมื่อเราจัดสรรค่าใช้จ่ายแล้ว ลองมาดูในส่วนเงินเก็บอย่างน้อยเราต้องมีไว้เพื่อ เป็นทุนการศึกษาบุตร  เพื่อเกษียณอายุการทำงาน  สัดส่วนการออมควรจะอยู่ที่ ที่ขั้นต่ำ 10 % – 30 % ของรายได้ในแต่ละเดือน  

4.ด้านการป้องกันความเสี่ยง ว่าจะเป็นการประกันความเสี่ยงต่อทรัพย์สิน หรือประกันสุขภาพ อย่างน้อย เราควรจัดสรรเงินของเรามาทำประกันชีวิตประกันสุขภาพอย่างน้อย ก็คนละ 1 กรมธรรม์หรือจะเป็นประกันรถยนต์ ประกันอัคคีภัย เพื่อโอนความเสี่ยงให้กับบริษัทประกันลดความเสียหายความสูญเสียในทรัพย์สินให้น้อยลง

5.การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  โดยประมาณการเงินได้ทั้งปีที่ต้องเสียภาษี  รวมถึงสิทธิ์ลดหย่อนที่ เพื่อป้องกันปัญหาการถูกเรียกคืนภาษีหรือถูกสรรพากรตรวจสอบย้อนหลังได้

นอกจากการวงแผนทั้ง 5 ข้อที่กล่าวมานี้ ยังมีอีกหลาย ๆ สิ่ง ที่จะช่วยให้สภาพการเงินของคุณคล่องได้นั้นคือพฤติกรรมการดำรงชีวิตและการใช้เงินของคุณ การทำบัญชีครัวเรือนการจำบันทึก ก็สามารถช่วยให้เก็บเงินได้มากขึ้นเช่นกัน  เพราะอย่างน้อยก็จะทำให้เรารู้ว่าสิ่งไหนที่เราจำเป็นต้องซื้อ สิ่งไหนที่พอมีอยู่ใช้ได้อยู่ ก็ยังไม่จำเป็นต้องซื้อ  ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของเงินสำรองหรือเงินหมุนเวียนในครอบครัว  และปัจจุบันเรามีแอปพลิเคชั่นรายรับรายจ่ายในมือถือ  ที่จะช่วยให้ท่านสะดวกสบายง่ายในการจดบันทึก