หลายคนกำลังประสบปัญหาในเรื่องของการนอน ที่ทำให้มีกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก การนอนไม่หลับ ถือเป็นการทำงานที่ผิดปกติของร่างกาย มักไม่ง่วงนอน เมื่อถึงเวลานอน นอนยาก นอนหลับไม่สนิท หรือตื่นมาแล้วกลับไปนอนไม่ได้อีก ฯลฯ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างรวมกัน เพื่อให้การนอนหลับพักผ่อนของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาเพื่อจะทำให้การนอนหลับของคุณไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวันของคุณได้
ปัจจัยที่มีผลต่อการนอนหลับ
ปัจจัยที่มีผลทำให้การนอนหลับของคุณผิดปกติ ลองสำรองพฤติกรรมในชีวิตประจำวันว่า ส่งผลต่อการนอนหลับของคุณหรือไม่ ดังรายละเอียดดังนี้
1. การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นตัวช่วยให้คุณได้นอนหลับได้ดีเลยทีเดียว ช่วยให้คุณนอนหลับได้ง่ายขึ้น ควรออกกำลังกายในช่วงเวลาที่เหมาะสม การออกกำลังกายในช่วงเช้าถือว่าได้ผลมากที่สุด
2. ระดับฮอร์โมนในร่างกาย
ระดับฮอร์โมนในร่างกาย ส่งผลในการนอนหลับของคุณได้เช่นกัน เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดลง ซึ่งทั้งคู่เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการนอนหลับ
3. เล่นโทรศัพท์ก่อนนอน
ในปัจจุบันโทรศัพท์เป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งหลาย ๆ คนมักนอนเล่นโทรศัพท์ก่อนนอน โดยอาจคิดว่าเป็นการผ่อนคลายหลังจากทำงานเหน็ดเหนื่อยมาทั้งวัน แต่แท้จริงแล้ว การเล่นโทรศัพท์ก่อนนอน แสงบลูไลท์หรือแสงสีฟ้าที่ส่งออกมาจากหน้าจอสมาร์ทโฟน มีส่วนที่จะไประงับการผลิตเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่บอกให้ร่างกายของคุณนอนหลับ
4. ไม่ค่อยได้สัมผัสแสงแดด
การสัมผัสแสงแดดในตอนกลางวัน มีส่วนช่วยให้การนอนหลับของคุณดีมากยิ่งขึ้น เพราะแสงแดด จะส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนเมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนแห่งการนอนหลับ ที่จะถูกหลั่งเฉพาะตอนกลางคืน หากไม่ได้รับแสงแดดเลยอาจทำให้เมลาโทนินหลั่งผิดปกติได้
5. ความเครียด
ความเครียดถือเป็นปัจจัยอันดับต้น ๆ ที่มีผลต่อการนอนหลับของคุณ เพราะความเครียด ความกังวลใจต่าง ๆ มีผลต่อการเต้นของหัวใจ ทำให้สมองตื่นตัว จึงทำให้การนอนหลับของคุณผิดปกติ ดังนั้นก่อนการนอนหลับคุณควรเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อม เพื่อให้คุณได้ผ่อนคลาย หยุดทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความเครียด หรือหันไปสวดมนต์หรือนั่งสมาธิ ก็เป็นสิ่งที่ทำให้คุณได้นอนหลับได้เป็นอย่างดี
6. เครื่องดื่มคาเฟอีน
คาเฟอีน มีส่วนที่จะทำให้คุณนอนไม่ค่อยหลับ หากคุณมีการดื่มเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน ในระหว่างวัน ลองสังเกตว่าหากคุณทานกาแฟในช่วงบ่าย ควรมีการกำหนดเวลาว่า ควรดื่มเวลาไหน เพราะร่างกายต้องใช้เวลาพอสมควรในการขับคาเฟอีนออกจากร่างกาย หากคุณดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในเวลาที่ไม่เหมาะสม อาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการนอนหลับของคุณได้
การรักษาอาการนอนไม่ค่อยหลับ
1. การรักษาได้ด้วยตนเอง
พฤติกรรมในการตื่นนอนและการเข้านอน มีผลต่อการนอนหลับของคุณเป็นอย่างมาก การเข้านอนหรือการตื่นนอนตามเวลาเดิม เป็นประจำ ซึ่งทำให้ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ให้หลีกเลี่ยงหมกมุ่นอยู่กับความคิดที่ฟุ้งซ่าน ไม่เครียดหรือวิตกกังวลใจ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย ลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ บุหรี่ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้การนอนหลับของคุณดีมากยิ่งขึ้น
2. การรักษาด้วยยา
หากต้องรักษาอาการนอนหลับด้วยยา ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ยาที่ใช้จะอยู่ในกลุ่มยาเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเป็นยาที่ใช้เพื่อเพิ่มระดับฮอร์โมนเมลาโทนิน มักใช้เมื่อเกิดปัญหาการปรับตัวไม่ทันเมื่อข้ามเขตเวลาโลก (Jet Lag) Antidepressants หรือยาต้านเศร้า และ Antipsychotics หรือยารักษาอาการทางจิต จะช่วยทำให้คุณผ่อนคลาย ลดอาการวิตกกังวลได้ดีเลยทีเดียว ทำให้นอนหลับง่าย และหลับสนิท
บทสรุป
การนอนหลับ ถือว่าเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของคุณเป็นอย่างมาก ควรให้ความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะส่งผลต่อการนอนหลับของคุณให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ควรศึกษาหารายละเอียดเพื่อเป็นข้อมูลในการห่างไกลจากอาการนอนไม่ค่อยหลับ เพื่อให้ร่างกายของคุณมีสุขภาพดี ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ ได้ดีเลยทีเดียว