สำหรับใครที่เป็นนักเขียน หรือนักอ่าน น่าจะคุ้นเคยกับคำว่า สาธกโวหาร กันอย่างแน่นอน เพราะถือว่าเป็นหนึ่งในคำที่มักจะได้เห็นบ่อยๆ เพราะถือว่าเป็นสำนวนการเขียนที่มีประโยชน์อย่างมากในการนำมาสร้างความน่าเชื่อถือ และความหนักแน่นให้กับข้อความ หรือความคิดเห็น ที่ต้องการจะสื่อให้คนภายนอกได้เห็น และสัมผัสได้ ซึ่งแน่นอนว่าการใช้ สาธกโวหาร ก็ต้องมีความเข้าใจ และการเรียนรู้หลายส่วน เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะขอพาทุกคนมาดู และเรียนรู้เกี่ยวกับ สาธกโวหาร ให้มากขึ้น ที่รับประกันได้ว่าจะมีประโยชน์ และนำไปใช้งานจริงได้อย่างแน่นอน
สาธกโวหาร คืออะไร
เชื่อว่าก็ยังมีหลายคนที่ยังไม่เข้าใจความหมายของ สาธกโวหาร ซึ่งคำๆ นี้ถูกแยกออกมาจาก 2 คำ นั่นก็คือมาจากคำว่า สาธก และ โวหาร โดยที่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ได้ให้ความหมายของ 2 คำดังกล่าวเอาไว้ดังต่อไปนี้
- สาธก คือคำ กริยา ยกตัวอย่างมาอ้างให้เห็นก็คือ ช่วยทำ หรือ ทำให้สำเร็จ
- โวหาร คือคำ คำนาม ชั้นเชิงหรือสํานวนแต่งหนังสือหรือพูด เช่น มีโวหารดี ถ้อยคําที่เล่นเป็นสำบัดสำนวน เช่น อย่ามาตีโวหาร เขาชอบเล่นโวหาร
- สาธกโวหาร คือ คำนาม สำนวนเขียนที่มีการยกตัวอย่างมาอ้างให้เห็น
จะเห็นได้ว่า สาธกโวหาร จะหมายถึงการหยิบยกตัวอย่างนำมาอ้างอิง ที่มาพร้อมกับคำอธิบาย เพื่อสนับสนุนข้อความ หรือความคิดเห็นของผู้เขียนให้มีความหนักแน่น เสริมความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น ถือว่าเป็นสำนวนการเขียนซึ่งถ้าหากนำมาใช้งานให้เป็น และถูกวิธี ก็จะมีประโยชน์เป็นอย่างมาก โดยจะยกตัวอย่างง่ายๆ ให้เข้าใจ เช่น ประสบการณ์ตรงของผู้เขียน เรื่องราวของบุคคลสำคัญ นิทาน ตำนาน หรือวรรณกรรม โดยสาธกโวหารเป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร ซึ่งตัวอย่างเหล่านี้ก็มีความจำเป็นอย่างมากในการเลือกนำมาใช้เพื่อให้เข้ากับโวหารประเภทต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป
หลักการเขียน สาธกโวหาร
- การเขียน สาธกโวหาร จะเป็นการเขียนตัวประโยคที่ควบคู่กับ เทศนาโวหาร หรือบรรยายโวหาร ซึ่งจะเป็นการหยิบยกตัวอย่างขึ้นมาประกอบให้ผู้อ่านได้เห็นความหนักแน่น
- ตัวอย่างที่จะนำขึ้นมายกประกอบ จะเป็นเนื้อหาที่จะเขียนเพื่อให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับความสัมพันธ์ของเนื้อหาในพรรณนาโวหาร เทศนาโวหาร รวมไปถึงบรรยายโวหาร โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ข่าว นิทาน หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แล้วแต่ผู้เขียนจะพิจารณาในการเขียนนั่นเอง
- ภาษาที่นำมาใช้ในการบรรยาย จำเป็นต้องยกตัวอย่างให้ชัดเจน และต้องเป็นการใช้ถ้อยคำที่เข้าใจง่าย โดยที่ควรสรุปหลังจากการยกตัวอย่างประกอบแล้วด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เพราะจะเป็นการให้ความสำพันธ์ของเทศนาโวหาร กับสาธกโวหาร หรือบรรยายโวหาร กับสาธกโวหาร ตามแต่ความสะดวกของแต่ละบุคคล
สำหรับการยกตัวอย่างที่นำมาใช้ประกอบเนื้อหาในการเรียนรู้ จำเป็นต้องรู้จักเลือกใช้ โวหาร ที่มีความเหมาะสมกับจุดประสงค์ และสิ่งที่ต้องการจะสื่อ ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องใช้ โวหาร หลายชนิดนำมาผสมผสานเพื่อให้เกิดความเข้าใจ และมีความลงตัวได้มากที่สุด แต่เหนือสิ่งอื่นใด สิ่งที่สำคัญมากที่สุดก็คือการเลือกใช้ โวหาร ที่มีความเหมาะสมในแต่ละโอกาสที่เกิดขึ้น รวมไปถึงจุดมุ่งหมายของงานเขียนที่จะต้องถูกต้องตามลักษณะของโวหารนั้นๆ นั่นเอง
ตัวอย่างสาธกโวหาร
“อำนาจความสัตย์เป็นอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ ไม่เพียงแต่จับหัวใจคน แม้แต่สัตว์ก็ยังมีความรู้สึกในความสัตย์ซื่อ เมื่อกวนอูตายแล้ว ม้าของกวนอูก็ไม่ยอมกินหญ้ากินน้ำ และตายตาม เจ้าของไปในไม่ช้า ไม่ยอมให้หลังของมันสัมผัสกับผู้อื่นนอกจากนายของมัน”
แหล่งอ้างอิง : สามก๊ก : เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
“ถ้าเธอไม่อยากอยู่กับฉันจริงจริง ยินยอมทุกสิ่ง ให้เธอทิ้งไป ฉันขอแค่เพียงให้เวลาหน่อยได้ไหม อยากเล่านิทานให้ฟัง ชาวนาคนหนึ่งมีชีวิตลำพัง ไปเจองูเห่ากำลังใกล้ตายสงสารจึงเก็บเอามาเลี้ยงโดยไม่รู้ สุดท้ายจะเป็นอย่างไร คอยดูแลด้วยความจริงใจ ห่วงใย และคอยให้ความรักเป็นกังวลว่ามันจะตาย เฝ้าคอยเอาใจทุกอย่าง แต่สุดท้ายชาวนาผู้ชายใจดี ด้วยความที่เขาไว้ใจ น่าเสียดายกลับต้องตาย ด้วยพิษงู นิทานมันบอกให้ยอมรับความจริง ว่ามีบางสิ่งไม่ควรไว้ใจ อะไรบางอย่างที่ทำดีซักแค่ไหน ไม่เชื่อง ไม่รักไม่จริง”
แหล่งอ้างอิง : ชาวนากับงูเห่า : สีฟ้า
“แต่ถ้าผู้ใช้อำนาจในทางเห็นแก่ตัว เพื่อประโยชน์ของตัวฝ่ายเดียว และผลแห่งการกระทำนั้นไม่เป็นคุณกับใคร แม้แก่ประเทศชาติบ้านเมืองของตัว เช่นนี้เราก็ไม่น่าจะยอมรับเป็นความยิ่งใหญ่ ตัวอย่างในประวัติศาสตร์ไทยของเราเองก็มีอยู่เป็นอันมากไม่มีใครจะปฏิเสธได้ว่า พระเพทราชาหรือพระเจ้าเสือไม่เป็นผู้ยิ่งใหญ่ทางอำนาจวาสนา ท่านได้สร้างอำนาจขึ้นมาด้วยความฉลาดเฉียบแหลมด้วยเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบายนานาประการ
ด้วยความสามารถในการทำรัฐประหารแย่งราชสมบัติทางทายาทโดยชอบธรรมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ถืออำนาจเต็มเปี่ยมอยู่ในมือ การกระทำดังกล่าวเป็นตัวอย่างแห่งความยิ่งใหญ่ทางการเมืองแท้ คือ ไม่ต้องนึกถึงศีลธรรมหรือความผูกพันทางจิตใจ ฆ่าได้ไม่เฉพาะแต่ศัตรู และมิตรก็ฆ่าได้ ถ้ามิตรนั้นไม่มีประโยชน์อะไรต่อไปอีก”
บทสรุปในการเขียน สาธกโวหาร และความเข้าใจ
สำหรับ สาธกโวหาร ที่นำมาให้ดูกันในวันนี้ เป็นเพียงพื้นฐานง่ายๆ ที่นำมาหยิบยกประโยคในการประกอบคำอธิบายง่ายๆ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับคนที่ชื่นชอบในการเขียน เพราะถ้าหากทำความเข้าใจได้ตรงกับความหมายที่ถูกต้อง เลือกนำมาใช้ให้เข้ากับรูปประโยคที่มีความเหมาะสม ก็จะช่วยเพิ่มความหนักแน่น และความน่าเชื่อถือได้มากที่สุด
รวมไปถึงยังทำให้ผู้อ่านเกิดความเพลิดเพลิน และคล้อยตามได้มากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นสำหรับใครที่มีความสนใจในเรื่อง สาธกโวหาร และต้องการนำมาปรับปรุงในการใช้งานให้เข้ากับตัวเอง สามารถติดตามอ่าน และศึกษาได้จากนักเขียนที่มีประสบการณ์ ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเขียนได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง