สำหรับใครที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้เทศนาโวหาร ที่มักจะสับสนเวลาได้ยินการแสดงธรรมสั่งสอนหลักทางพระพุทธศาสนา เพราะในปัจจุบันมีโวหารหลายประเภทให้ได้ติดตาม ซึ่งถือว่าเป็นศิลปะการใช้คำอย่างหนึ่ง และเพื่อไม่ให้เป็นการสับสนไปมากกว่านี้วันนี้จึงขอพาทุกคนมาทำความเข้าใจกับ เทศนาโวหาร ว่ามันคืออะไร และสามารถนำมาใช้ร่วมกับโวหารประเภทใดได้บ้างถึงจะเหมาะสมมากที่สุด รวมไปถึงจะพาไปดูความแตกต่างของโวหารประเภทต่างๆ ที่จะสามารถนำไปใช้ และอ่านได้ถูกต้องเพิ่มมากขึ้น
เทศนาโวหาร คืออะไร
สำหรับคำว่า เทศนาโวหาร หมายถึงการเขียนอธิบาย หรือเป็นการชี้แจ้งเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจถึงประโยชน์ หรือโทษของเรื่องที่กำลังจะสื่อ หรือพูดถึง ซึ่งจะเป็นการนำเอาเหตุผล หรือหลักฐานเข้ามาเป็นส่วนประกอบ โดยที่จะมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจความหมายที่ชัดเจนมากที่สุด และรวมไปถึงเป็นการชักจูงเพื่อให้เกิดอาการคล้อยตาม เพื่อแนะนำสั่งสอนให้เกิดข้อคิด และคติที่เตือนใจ
โดยที่วิธีการเขียนในรูปแบบ เทศนาโวหาร จะเป็นการพูดถึงคำอธิบาย หรือคำจำกัดความของสิ่งของต่างๆ เพื่อทำการชี้แจ้งให้เกิดความเข้าใจ จากนั้นจึงกล่าวถึงเหตุผลที่เกิดขึ้น รวมไปถึงความจริง และความเหมาะสม จึงทำให้เกิดการอธิบายคุณ และขอโทษ พร้อมกันนี้ยังต้องยกตัวอย่างประกอบ หรือคำเปรียบเทียบเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจที่ดีที่สุด ซึ่งการยกตัวอย่างประกอบเรื่องราวในเทศนาโวหารนั้น จะเป็นการสาธกโวหารประกอบเทศนาโวหารเสมอ
ดังนั้นความจำเป็นที่ต้องใช้เทศนาโวหารเข้ามาในประเด็นดังกล่าว ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นมาจากปัญหา ความคิดเห็น วิชา และข้อจรรยา รวมไปถึงคำสุภาษิต ทั้งหมดนี้ก็เพื่อความต้องการที่จะให้ผู้อ่านได้รับรู้ถึงความน่าเชื่อถือ ซึ่งหลักๆ แล้วจะมีลักษณะย่อดังต่อไปนี้
- จำกัดความ และอธิบายความหมาย หมายถึง ให้ความหมายของสิ่งของต่างๆ ที่นำมาใช้ในการเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพ และเกิดความเข้าใจมากที่สุด
- พิสูจน์ข้อเท็จจริง หมายถึง หาหลักฐานประกอบคำอธิบาน ที่จะช่วยให้เกิดความน่าเชื่อถือ เช่น ครูชี้แจงให้ศิษย์เห็นจริง เรื่องน้ำถูกความร้อน ย่อมกลายเป็นไอ ฯลฯ ทางวิทยาศาสตร์ หรือตระลาการชี้แจงข้อเท็จจริงของโจทก์จำเลย ตามหลักฐานพยาน เป็นต้น
- ชี้แจงเหตุผล หมายถึง นำหลักเหตุผลที่เป็นข้อเท็จจริงมาพูด บอก และกล่าว เพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมด เช่น ชี้เหตุแห่งยุงชุมว่า เกิดจากปล่อยให้มีน้ำขังอยู่บน พื้นดินมาก และชี้ผลแห่งการดื่มน้ำโสโครกว่าจะเป็นโรคอหิวาต์ โรคบิด และไข้รากสาด เป็นต้น
- อธิบายคุณ และโทษ หมายถึง ให้มอบภาพความเป็นจริง รวมไปถึงเหตุผลหลักที่จะได้รับ ไม่ว่าจะเป็นทางเลือกทางไหน เช่น ชี้แจงให้เห็นถึงคุณของไฟว่า ให้ความอบอุ่น มีประโยชน์ในการหุงต้มอาหาร ฯลฯ หรือชี้แจงโทษว่า หากพลั้งเผลอก็อาจจะไหม้บ้านได้ เป็นต้น
- แนะนำคำสั่งสอน หมายถึง พูดเพื่อให้เกิดความเข้าใจ อธิบายเพื่อให้เกิดอาการคล้อยตาม เช่น กล่าวสั่งสอน ให้ผู้อ่านคล้อยตาม และประพฤติตามด้วยอุบายต่าง ๆ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าการใช้ เทศนาโวหาร จะมีข้อจำกัดในการนำมาใช้มากมาย โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นมาจากที่ผู้แต่งต้องการที่จะอธิบายเรื่องราวต่าง รวมไปถึงมุมมองในส่วนที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้อ่าน หรือผู้ฟังได้เกิดความเข้าใจ และเห็นข้อเท็จจริง ตามหลักที่ควรจะเกิด และเป็นมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ก. ข. ข้างต้นนี้แล้ว จะต้องแต่งเป็นร้อยแก้ว เพื่อเลือกใช้คำพูดสะดวก แต่ถ้าต้องการจะปลูกศรัทธาให้มีความรักใคร่หรือเชื่อฟังอย่างข้อ ง.มักแต่งเป็นคำประพันธ์ร้อยกรอง เพื่อเอาความเพราะพริ้งเข้ามาช่วย รวมถึงสุภาษิตต่างๆ เช่น เวลาน้ำมาฝูงปลากินมด เวลาน้ำลดฝูงมดกินปลา เป็นต้น
ถ้าหากใครที่เข้าใจความหมายที่แท้จริง รวมไปถึงกำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาการเขียนโวหารต่างๆ จะเห็น และเข้าใจได้อย่างชัดเจนว่าการเขียน เทศนาโวหาร จะเป็นหัวข้อที่ค่อนข้างจะยากกว่าการเขียนโวหารประเภทอื่นๆ เพราะจำเป็นต้องมีความเข้าใจทั้งในเรื่องของเนื้อหา รวมไปถึงตัวตนของผู้อ่าน ความรู้สึก และบรรยากาศโดยรวม เนื่องจากการเขียนลักษณะดังกล่าวจะเป็นการชักจูง โดยการนำเอาเหตุผลต่างๆ มาประกอบเข้ากับความคิดในรูปแบบต่างๆ ที่ผู้อ่านจะต้องเข้าใจ และเห็นด้วย เพื่อให้เกิดความเชื่อถือ และสามารถเลือกที่จะปฏิบัติตามที่กล่าวไปนั่นเอง
หลักการเขียนเทศนาโวหาร มีอะไรบ้าง
การเขียนโวหารประเภทต่างๆ ก็จะมีข้อจำกัด และวิธีการเขียน รวมไปถึงคำอธิบายที่จะสื่อไปยังผู้อ่านเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่แตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับการเขียน เทศนาโวหาร ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบการเขียนโวหารที่ผู้เขียนจำเป็นต้องมีความเข้าใจมากที่สุด มีพื้นฐานที่ดี ซึ่งหลักๆ แล้วจะมีหลักการเขียนเทศนาโวหารดังต่อไปนี้
- ผู้เขียนจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวที่จะต้องการจะสื่อเป็นอย่างดี : ปัจจัยแรกก็คือ ความเข้าใจ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อที่จะทำให้ผู้อ่านสามารถได้รับข้อมูลความเป็นจริง เรื่องราวที่เกิด อย่างถูกต้อง และครบถ้วนมากที่สุด เพราะฉะนั้นควรเลือกใช้ภาษาที่มีความเข้าใจได้ง่าย รวมไปถึงพยายามเขียนในรูปแบบที่น่าสนใจ เพื่อดึงดูดผู้อ่านให้เกิดความสนใจ และคิดตามคำอธิบาย
- ผู้เขียนจำเป็นต้องใช้ประกอบเข้ากับการเขียนโวหารอื่นๆ : การเขียนโวหารทุกประเภท สามารถนำมาเขียนรวม ผสมสาน เพื่อให้เกิดเรื่องราวที่น่าสนใจ น่าเชื่อถือ เช่นเดียวกับการเขียนเทศนาโวหาร เพราะสามารถนำมาใช้ร่วมกันกับการบรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร อุปมาโวหาร หรือสาธกโวหาร เพราะฉะนั้นสิ่งที่จำเป็นก็คือความเข้าใจของผู้เขียนอย่างถ่องแท้
- ผู้เขียนจะต้องมีคำอธิบายที่สมเหตุสมผล เชื่อถือได้ : เพราะเนื้อหาในการเทศนาโวหารนั้นควรที่จะต้องมีความสมเหตุสมผล ที่ผู้อ่านจะต้องสามารถอ่าน คิด วิเคราะห์ รวมไปถึงแยกแยะเรื่องที่กำลังอ่านอยู่ได้ด้วยตัวเอง อาจจะเพิ่มคำอธิบายที่เป็นระเบียบ และสามารถแสดงออกถึงความคิดเห็นในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านของประโยชน์ และโทษ เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบ
บทสรุปเกี่ยวกับการเขียน เทศนาโวหาร
สำหรับคำอธิบายเกี่ยวกับวิธีการ รูปแบบการเขียน และความหมายในด้านต่างๆ ของ เทศนาโวหาร ที่นำมาให้ได้ดูกันในวันนี้ น่าจะทำให้หลายๆ คนเกิดความเข้าใจกันมากยิ่งขึ้น เพราะอย่างที่บอกว่าการเขียน เทศนาโวหาร จะมีข้อแตกต่าง และความยากกว่าโวหารอื่นๆ เพราะฉะนั้นความเข้าใจที่แท้จริงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะฉะนั้นเพื่อการเขียนที่มีข้อความที่ครบถ้วน และสมบูรณ์แบบที่สุด ควรศึกษาแบบแผน และรูปแบบการเขียนให้ชัดเจน เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ประกอบการเขียนในครั้งต่อไปได้อย่างดีที่สุดนั่นเอง