ในปัจจุบันนี้ อุปกรณ์ป้องกันโทรศัพท์ โน๊ตบุ๊ค แท็ปเล็ต ต่างมีให้เลือกเยอะแยะมากมาย ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยป้องกันและยืดอายุการใช้งาน ให้กับอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของเรา และอุปกรณ์ที่ใช้บ่อยมากที่สุด อีกทั้งยังเป็นที่ต้องการมากในตลาด นั่นก็คือ ฟิล์มกันรอย นั่นเอง โดยเฉพาะฟิล์มกันรอยหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ที่พวกเราต่างนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
หากไม่ติดฟิล์มกันรอยบนหน้าจอสมาร์โฟน อาจจะเกิดรอยเล็บ รอยขนแมว หรือเมื่อทำโทรศัพท์ตก เสี่ยงหน้าจอแตกได้ ซึ่งฟิล์มกันรอยมีหลากหลายรูปแบบเลยทีเดียว แต่ฟิล์มที่เป็นที่นิยมมากที่สุด มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ ฟิล์มกระจก และ ฟิล์มไฮโดรเจล แต่เพื่อน ๆ เคยสงสัยหรือไม่ว่า ฟิล์มทั้ง 2 ชนิดนี้ มีความแตกต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับฟิล์มทั้ง 2 ชนิดนี้กันว่า มีความแตกต่างและมีข้อดี/ข้อเสียอย่างไรบ้าง
ทำความรู้จักประเภทของฟิล์มกันรอย
อย่างที่ทราบกันดีว่า ฟิล์มกันรอยมีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบและการใช้งาน อีกทั้งประสิทธิภาพของฟิล์มแต่ละประเภทนั้น มีความแตกต่างและมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอยู่ ดังนี้
- ฟิล์มกันรอยแบบ TPU (thermoplastic polyreuthane) ฟิล์มชนิดนี้จะเป็นฟิล์มกันรอยที่มีคุณสมบัติพิเศษ ทเพราะมีการเพิ่มความยืดหยุ่นและความเหนียว ทำให้สามารถป้องกันคราบน้ำมันต่าง ๆ รวมถึงป้องกันรอยขีดข่วนได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ฟิล์มชนิดนี้จะช่วยดูดซับแรงกระแทกไม่ ส่งผลให้หน้าจอไม่ได้รับแรงกระแทกที่รุนแรงมากเกินไป พร้อมทั้งยังสามารถป้องกัน การเกิดฝุ่นบนตัวเครื่องได้เป็นอย่างดี
แต่ฟิล์มชนิดนี้จะมีข้อเสียอยู่ที่ การเคลือบสารกันแสงสะท้อน โดยสารชนิดนี้จะมีคุณสมบัติบางอย่าง ที่จะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพเร็วกว่าเดิม แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยต่าง ๆ เช่น ระยะเวลาการใช้งาน รูปแบบการใช้งาน ความสมบุกสมบันที่ได้รับ เพราะฟิล์ม TPU ชนิดนี้ หากใช้เป็นระยะเวลานาน หรือใช้งานหนักเกินไป จะสามารถแตกร้าวได้ง่าย อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ที่ใช้งานได้อีกด้วย
- ฟิล์มกันรอยแบบ PET (Polyethylene Terephthalate) ฟิล์มกันรอยชนิดนี้จะสามารถป้องกัน การเกิดรอยได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น โดยฟิล์มชนิดนี้จะค่อนข้างที่จะมีความบอบบาง เพราะไม่สามารถป้องกันการกระแทกได้เทียบเท่ากับฟิล์มกระจก จะป้องกันได้เพียงแค่การเกิดรอยเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างเช่น รอยจากการถูกของแข็งเล็กน้อย หรือถูกขูดขีดจากสิ่งของภายในกระเป๋า
แต่ข้อดีของฟิล์มชนิดนี้ก็คือ ราคาที่ค่อนข้างถูก สามารถเปลี่ยนบ่อยได้ตามที่ต้องการ แต่ข้อเสียมีค่อนข้างมาก เพราะจะทำให้สีของหน้าจอนั้น มีความผิดเพี้ยนไปจากสีขั้วจริงและมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างสั้น ทำให้จำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อยนั่นเอง
- ฟิล์มไฮโดรเจล (hydrogel) ฟิล์มชนิดนี้เป็นฟิล์มกันรอยที่มีการพัฒนา โดยการใช้นวัตกรรมที่มีการพัฒนา เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด และได้มีการนำมาใช้เป็นการพัฒนาจากฟิล์มกันลอยเทพีอยู่ จะทำให้ ฟิล์มกันรอยที่เป็นเนื้อฟิล์มของไฮโดรเจน จะมีความเหนียวและยืดหยุ่นสูงกว่าฟิล์มธรรมดาทั่วไป
พร้อมทั้งยังไม่ทำให้เนื้อฟิล์มแตก เนื่องจากมีการพัฒนาให้สามารถกระจายรับแรงกระแทกได้ดียิ่งขึ้น เมื่อทำตกโดยที่ไม่ได้ตั้งใจหรืออุบัติเหตุต่าง ๆ ฟิล์มจะไม่ร้าวและไม่เกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย พร้อมทั้งข้อดีของฟิล์มตัวนี้ก็คือ ไม่ทำให้เกิดรอยขีดข่วน ไม่บาดนิ้ว และราคาไม่แพง
- ฟิล์มกระจก ฟิล์มชนิดนี้จะมีความหนากว่าฟิล์มกันรอยทั่วไป จะไม่เหมือนกับฟิล์มกันรอยพลาสติก เพราะฟิล์มชนิดนี้จะมีการเคลือบสาร oleophobic ที่จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดรอยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรอยนิ้วมือ รอยขีดข่วน พร้อมทั้งยังช่วยลดการเกิดแสงจ้าของหน้าจอ ภาพคมชัด และสามารถทำความสะอาดรอยนิ้วมือ หรือรอยคราบต่าง ๆ ที่เปื้อนได้ง่าย จึงทำให้ฟิล์มกระจกถือเป็นอีกหนึ่งตัว ที่ได้รับความนิยมสูงสุดเทียบเท่ากับฟิล์มไฮโดรเจล แต่จะมีจุดที่แตกต่างกันอยู่ในเรื่องของประสิทธิภาพ และค่าใช้จ่ายนั่นเอง
ฟิล์มกระจก และ ฟิล์มไฮโดรเจล มีความแตกต่างกันอย่างไร
สิ่งที่จะทำให้ผู้คนตัดสินใจเลือกซื้อฟิล์มกันรอยได้นั้น ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพและลักษณะการใช้งาน โดยเฉพาะฟิล์มกระจกและฟิล์มไฮโดรเจล ที่มีผู้คนนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งหลายท่านสงสัยว่าทั้ง 2 ชนิดนี้ มีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อที่จะสามารถนำมาเปรียบเทียบ และตัดสินใจซื้อเลือกซื้อใช้ได้ถูกต้อง
โดยความแตกต่างจะเปรียบเทียบจากข้อดี / ข้อเสียของฟิล์มทั้ง 2 ชนิดนี้ และมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ดังนี้
- ฟิล์มไฮโดรเจล ข้อดี/ข้อเสีย
- กันและแรงกระแทกได้ค่อนข้างดี สามารถกระจายแรงกระแทกได้ทั่วทั้งแผ่น จึงไม่แตกร้าวเมื่อตกกระทบด้านใดด้านหนึ่ง
- ทนทานต่อรอยขีดข่วน ไม่บิน ไม่แตกง่ายและไม่บาดนิ้ว แต่ของแหลมคม ฟิลม์จะไม่สามารถทนทานรอยขีดแบบนี้ได้
- มีความยืดหยุ่นค่อนข้างมาก ตัวแผ่นส่วนมากจะบางประมาณ 0.15 มม.
- สามารถติดได้ดี ไม่จำเป็นต้องใช้กาวช่วยก็สามารถติดได้ และไม่มีคราบ
- ฟิล์มไฮโดรเจลสามารถติดแนบได้เต็มหน้าจอ ไม่ว่าจะหน้าจอโค้งมน หรือ หน้าจอทรงเหลี่ยม มุมแหลม
- การแสดงสีบนหน้าจอไม่ผิดเพี้ยน และการแสดงผลค่อนข้างคมชัด สวยงาม
- ทัชสกรีนได้อย่างลื่นไหล พร้อมทั้งยังแสกนใบหน้าได้รวดเร็ว ไม่ทำให้หน้าตา หรือลายนิ้วมือผิดเพี้ยน
- มีราคาไม่แพง สามารถจับต้องได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบรนด์ของฟิลม์ที่ซื้อ และวิธีการจัดตั้งหน้าจอ
- ฟิลม์กระจก
- กันรอยและแรงกระแทกได้ค่อนข้างดี ส่วนหน้าจอวามารถทนต่อของมีคม และรอยขีดข่วนได้ แต่ถ้าหากตกจากที่สูงในมุมเฉียง ขอบฟิลม์อาจบิ่นและร้าวได้ง่าย
- ฟิลม์ค่อนข้างหนาและแข็ง ทำให้เมื่อติดฟิลม์กระจก จะส่งผลให้ไม่สามารถให้เคสได้หลากหลายแบบ และหากเป็นหน้าจอโทนศัพท์แบบโค้งมน อาจต้องใช้กาวช่วยติด
- ฟิลม์กระจกสามารถแสดงผลได้อย่างชัดเจน สีของการแสดงผลชัดเจน ภาพที่แสดงไม่พร่ามัวหรือเบลอ
- การทัชสกรีน และการใช้งานค่อนข้างลื่น แต่อาจส่งผลในเรื่องของการแสกนนิ้ว และการแสกนใบหน้า ที่อาจไม่สามารถแสกนได้อย่างชัดเจน
- ฟิลม์มีหลายระดับราคา หากต้องการฟิลม์ที่ใช้งานได้นาน อาจต้องเลือกซื้อฟิลม์ที่มีราคาสูง
ลักษณะการใช้งานของฟิลม์ที่เหมาะสม
- ฟิลม์รูปแบบใส ฟิลม์ลักษณะนี้ ให้การแสดงผลที่ชัดเจน สีสันการแสดงผลจะสดใส ให้สีเทียบเท่ากับการแสดงผลจริง ไม่ให้ความรู้สึกเหมือนติดฟิลม์เลยด้วย
- ฟิลม์รูปแบบด้าน ฟิลม์ลักษณะนี้ ถึงจะเป็นรูปแบบด้าน แต่สามารถทัชสกรีนได้อย่างลื่นไหล ป้องกันรอยนิ้วมือได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยลดแสงสะท้อนจากหน้าจอ และเล่นเกมได้ลื่น ไม่ฝืดติดขัด สามารถเล่นเกมได้สบาย
- ฟิลม์เพื่อสุขภาพ เป็นฟิลม์สำหรับถนอมสายตา การถนอมสายตาในที่นี้ คือการที่ฟิลม์ช่วยลดแสงสีฟ้า ซึ่งเป็นแสงที่อันตรายต่อสายตา ช่วยลดอาการปวดและตาล้า ที่ถือเป็นต้นเหตุให้จอประสาทตาของเราเสื่อมนั่นเอง
เหตุผลที่ฟิลม์ไฮโดรเจลเป็นที่นิยมกว่าฟิลม์กระจก
ฟิลม์ที่ได้รับความนิยมมากว่า เป็นรูปแบบไฮโดนเจล เชื่อว่า หลายท่านคงทราบกันดีถึงข้อแตกต่าง ที่ทำให้ฟิลม์ชนิดนี้ได้รับความนิยมมากกว่าฟิลม์ทั้งหมด นอกจากข้อดีต่าง ๆ ด้านบนแล้วนั้น ยังมีเหตุผลที่ผ็คนส่วนใหญ่เลือกใช้ ตามด้านล่างนี้
- หาซื้อได้ง่าย และปกป้องได้ดีที่สุด จากเสียงของเหล่าผู้ใช้งานส่วนมาก ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกนว่า เมื่อทำตกแล้ว หน้าจอไม่แตก และตัวฟิลม์ไม่เกิดรอยร้าว สามารถแนบสนิทไปกับหน้าจอได้อย่างสวยงาม
- ฟิลม์ค่อนข้างบาง แต่มีความแข็งแรง สามารถติดได้ทุกอณูทั่วทุกมุม แก้ปัญหาขอบลอยได้เป็นอย่างดี และไม่ขัดกับตัวเคสโทรศัพท์
- เนื้อฟิลม์ใสเหมือนแผ่นใสบาง ๆ สีที่แสดงออกสดใส ไม่ว่าจะมองมุมไหนก็จะเห็น การแสดงผลที่มีความคมชัด และไม่ลดประสิทธิภาพการแสดงผล
- การทัชสกรีนไม่ผิดเพี้ยน สามารถรับการแสกนลายนิ้วมือได้ค่อนข้างไว มีความเสถียรและรวดเร็ว เสมือนไม่ได้ติดฟิลม์เลยทีเดียว
- เทคโนโลยีล้ำเลิศ ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ทำให้เมื่อเกิดรอยขีดข่วนเล็กน้อย หน้าจอจะสามารถสมานรอยได้เองตามเทคโนโลยี โดยใช้เวลาเพียง 36 ชั่วโมงเท่านั้น ฟิลม์จึงสามารถอยู่ได้นาน คงความใสไว้ได้ตลอด
- ฟิลม์สารพัดประโยชน์ มีความบางค่อนข้างมาก ทำให้นอกจากจะสามารถใช้ป้องกัน หน้าจอแสดงผลได้แล้วนั้น ยังสามารถใช้ได้กับหลากหลายอุปกรณ์ เรียกได้ว่า แทบจะทุกชนิดเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทวอทช์ กล้องถ่ายรูป ไอแพด แท็ปเล็ต ลำโพง บัตรต่าง ๆ เกมคอนโซล รวมไปถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบอีกด้วย
- สามารถติดเองได้ไม่ยากที่บ้าน ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำหรือกาวมาช่วยเสริม อีกทั้งยังสามารถไล่ฟองอากาศได้อย่างง่ายดาย ไม่ทิ้งคราบกาวไว้หลังติด
จากเหตุผลของผู้ใช้จริงด้านบน ทำให้เห็นได้เลยว่า การเลือกใช้ฟิลม์รูปแบบนี้ มีข้อดีต่าง ๆ มากมาย เพราะนอกจากจะราคาถูกแล้วนั้น ยังสามารถนำมาใช้งานได้กับอีกหลากหลายอุปกรณ์ มีอายุการใช้งานเป็นระยะเวลานาน ยิ่งให้ปัจจุบันนี้ สามารถพัฒนาเทคโนโลยีไปได้อย่างก้าวไกล จึงทำให้มีตัวฟิลม์พัฒนาให้สามารถสมานรอยขีดข่วนได้ และยังมีเทคโนโลยีช่วยเรื่องความซีดเหลืองของฟิลม์
โดยฟิลม์รูปแบบเดิม เมื่อใช้งานไปในระยะเวลานาน ตัวสีและประสิทธิภาพจะลดน้อยลง เริ่มจากสีของฟิลม์ซีดเหลือง เมื่อกดทัชสกรีนอาจไม่ค่อยติด มีความฝืดเคืองมากยิ่งขึ้น แต่ในตอนนี้มีการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในจุดนี้ ทำให้ฟิลม์มีอายุยาวนานขึ้น ไม่ซีดเหลือง สามารถติดทนได้ดี และเรื่องของการทัชสกรีนสามารถสัมผัสได้ดีแม้เลยอายุการใช้งานมาแล้วก็ตาม
สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่สามารถเลือกระหว่างฟิลม์ 2 ชนิดนี้ได้ เมื่อทราบถึงความแตกต่าง ลักษณะการใช้งาน และข้อดี/ข้อเสียแล้วนั้น เชื่อว่า จะสามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมอย่างแน่นอน หากต้องการติดฟิลม์ที่มีคุณภาพ สามารถเข้าไปติดต่อสอบถาม กับร้านโทรศัพท์ที่ไว้ใจได้ เพราะทางร้านจะมีการแนะนำรูปแบบการใช้ และยี่ห้อของฟิลม์ที่มีคุณภาพให้เลือก แต่ถ้าหากสะดวกเดินทางไปที่ร้าน สามารถเลือกสั่งทางออนไลน์ และนำมาติดเองได้ไม่ยากที่บ้าน แม้ไม่เคยติดมาก่อนก็สามารถทำเองได้