ในยุคปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็น การประกอบอาชีพหรือ การทำงานในองค์กรหลากหลายรูปแบบ แน่นอนว่า ผู้คนส่วนใหญ่ จะต้องพบเจอกับคำว่า Vision และ mission กันอย่างแน่นอน ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่ใช้กันเป็นส่วนมาก ในองค์กรหรือธุรกิจใหญ่หลายประเภท และแน่นอนว่า หากใครได้ทำงานใน องค์กรใหญ่ เล็กมากแล้วนั้น จะต้องคุ้นเคยกับ คำทั้งสองคำนี้กันเป็นอย่างดี แต่สำหรับผู้คนส่วนใหญ่นั้น อาจจะคิดว่าทั้งสองคำนี้ มีความหมายที่เหมือนกัน หรือสามารถใช้ได้แบบเดียวกัน แต่ในความจริงแล้ว ทั้ง 2 คำนี้มีความหมาย และความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
รวมถึงลักษณะในการใช้งาน ก็มีความแตกต่างกันเช่นเดียวกัน ซึ่งบอกได้เลยว่า ผู้คนส่วนมากอาจจะเข้าใจในเรื่องของความหมาย และการใช้งานที่ผิดได้ ดังนั้นในวันนี้ผู้เขียน จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับ ทั้งสองคำนี้ ไม่ว่าจะเป็น Vision หรือ mission มั่นใจได้เลยว่า คุณจะไม่ใช้ผิดอีกต่อไป และ จะไม่เข้าใจผิดในเรื่องของความหมายอีก ซึ่งบอกได้คำเดียวเลยว่า ทั้งสองคำนี้ ค่อนข้างมีความสำคัญกับทางองค์กร และ การทำงานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการสัมภาษณ์งาน การพูดคุยในเรื่องของธุรกิจ หากคุณไม่รู้ความหมายของสองคำนี้ คุณอาจจะตกงาน หรือ พลาดงานสำคัญไปโดยไม่รู้ตัว
คำว่า Vision มีความหมายว่าอย่างไร
เรามาเริ่มทำความเข้าใจความหาย และการใช้งานที่คำแรกกันเลยดีกว่า นั่นก็คือ คำว่า Vision หรือมีความหมายว่า วิสัยทัศน์ แน่นอนว่า ทุกคนคงจะเคยได้ยิน และอาจจะคุ้นเคยกับคำที่เป็นภาษาไทย แต่อาจไม่ทราบรายละเอียดของคำว่า “วิสัยทัศน์” มันมีศัพท์ทางภาษาอังกฤษว่า Vision โดยความหมายของคำว่า วิสัยทัศน์ ในที่นี้นั่น ก็คือ การกำหนดเป้าหมายในระยะยาว หรือตัวกำหนดทิศทางในอนาคต ซึ่งแน่นอนว่า ในการทำองค์กรหรือ การก่อตั้งองค์กรทุกประเภท ทุกรูปแบบของธุรกิจ หากไม่มีวิสัยทัศน์การทำงานภายในองค์กร จะส่งผลเสียต่อองค์กรหลากหลายรูปแบบ เช่น การกำหนดขอบเขตในการทำงานได้ยาก ประสิทธิภาพการทำงานของคนในองค์กร จะไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ดังนั้น การบริหารจัดการภายในของแต่ละองค์กร จึงมีการตั้งวิสัยทัศน์ขององค์กรและผู้บริหารขึ้น เพื่อให้เป็นแรงบันดาลใจ ในการทำงานแก่องค์กร รวมถึงเป็นแรงบันดาลใจให้ กับลูกน้องในบริษัท เพื่อเป็นแนวทางที่ดีในการนำองค์กร ไปให้บรรลุเป้าหมาย หรือบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุด ที่องค์กรได้ตั้งไว้ในอนาคต นอกจากนี้ยังมีอีกความหมายหนึ่ง ของคำว่า Vision ที่ใครหลายคน อาจจะนำไปใช้ในความหมายที่ว่า เครื่องมือในการทำงานหรือ เครื่องมือในการชี้ทางให้กับองค์กร ซึ่งอาจจะทำให้องค์กร มีจุดมุ่งหมายและวิธีการปฏิบัติ ขั้นตอนที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ พร้อมทั้งยังทำให้การดำเนินกิจการ สะดวกเป็นแบบแผนได้มากยิ่งขึ้น
ยกตัวอย่างการใช้คำว่า Vision กับองค์กรทุกรูปแบบ
เชื่อว่ายังมีผู้คนอีกมากมาย กำลังสงสัยว่าการตั้ง Vision กับองค์กรนั้น สามารถทำได้อย่างไร มีวิธีการคิด การวางแผนอย่างไรบ้าง ผู้เขียนขอบอกได้เลยว่า การวางแผน วิธีการคิดมีการใช้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความคิดและรูปแบบธุรกิจ ในวันนี้ผู้เขียนจะมายกตัวอย่างการคิด Vision ในองค์กร ซึ่งบอกได้เลยว่า ใครอีกหลายคนอาจจะยังไม่ทราบ ถึงความหมายและยังคงใช้ในทางที่ผิด ซึ่งในวันนี้ผู้เขียนได้ยกตัวอย่าง การกำหนดวิสัยทัศน์ หรือ การกำหนด Vision ในองค์กรมาให้กับเพื่อน ๆ ทุกคน ได้ทำความเข้าใจกัน ดังต่อไปนี้
- การตั้ง Vision ในอันดับแรกของการก่อตั้งองค์กร นั่นก็คือ เราจะต้องทราบก่อนว่า องค์กรของเราต้องการทำอะไร ตั้งใจจะให้เป้าหมายความสำเร็จ ขององค์กรเป็นอย่างไร หรือ ความคาดหวังในความเจริญเติบโต ที่จะเป็นไปอย่างไรในอนาคต เช่น องค์กรต้องการที่จะทำยอดขายสินค้าหลัก ให้พุ่งสูงเกินกว่าไตรมาสที่ผ่านมา การขึ้นสู่จุดสูงสุดในวงการธุรกิจ และการผลักดันให้บริษัทติดอันดับในแบรนด์ระดับ Global เป็นต้น ตัวอย่างนี้คือการตั้ง Vision เพื่อชี้แนวทางในการปฏิบัติงาน ให้กับคนในองค์กรนั้น สามารถทำยอดขายให้พุ่งขึ้น มากกว่าไตรมาสที่ผ่านมา หรือมุ่งเน้นพัฒนาองค์กรให้ดีมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
- วางแผนจัดสรร และพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพในระยะยาว สิ่งนี้จะทำให้องค์กรมีระบบระเบียบมายิ่งขึ้น พร้อมทั้งยังเป็นตัวการันตีถึงคุณภาพภายในองค์กรได้เป็นอย่างดี
- นอกจากนี้ยังเป็นการตั้ง Vision ในการแก้ปัญหา ซึ่งเมื่อเราพบปัญหาต่าง ๆ ในองค์กรเราจะตั้ง Vision ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากพบสินค้าและบริการขององค์กรไม่ได้คุณภาพ เราจะตั้ง Vision ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับสินค้า และบริการขององค์กรให้มีคุณภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการทำให้ทิศทาง รวมถึงปัญหาที่เผชิญขององค์กรนั้น เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นได้อีกด้วย
- การตั้ง Vision ขึ้นมาเพิ่มเติม เพื่อที่องค์จะสรรค์สร้างสิ่งใหม่ ๆ ในองค์กร ยกตัวอย่างเช่น เราต้องการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเผยแพร่สู่ตลาด แน่นอนว่าทิศทางขององค์กรก็คือ การคิดและรังสรรค์ สินค้าใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมือนใคร มีคุณภาพ และเป็นที่ต้องการของตลาด เพื่อขายออกสู่ตลาด เข้าสู่กลุ่มเป้าหมาย และทำยอดขายของบริษัทนั้น ให้ดีมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า Vision ถือว่าเป็นสิ่งที่จะทำให้องค์กรหรือบริษัททั้งหลาย สามารถดำเนินการให้องค์กรมีการเจริญเติบโต ไปในทางที่ดีทั้งภายในและภายนอก พร้อมทั้งยังถือเป็นการทำให้คนในองค์กร ปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกัน หรือเป็นไปในแนวทางเดียวกันนั่นเอง ซึ่งการที่บริษัทจะมีวิสัยทัศน์ที่เข้มแข็ง และมาพร้อมกับการมีวิสัยทัศน์ที่ดีนั้น ความคิดเห็นของคนในองค์กรที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จะส่งผลให้เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ที่จะทำให้องค์กรนั้นสามารถเจริญเติบโต ได้อย่างต่อเนื่องในแวดวงเศรษฐกิจ และจะทำให้คนภายในองค์กรต่าง มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ในการพัฒนาองค์กรให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
เริ่มทำความรู้จักกับความหมายของคำว่า Mission กันดีกว่า
เมื่อหลายท่านได้ทราบความหมายของ Vision กันไปแล้ว แน่นอนว่าคงจะเกิดข้อสงสัยกับคำนี้ Mission ที่มีความหมายที่แตกต่างกับคำว่า Vision หรือวิสัยทัศน์อย่างไร โดยผู้เขียนขอบอกตรงนี้ว่า Mission หรือ มิสชั่น มีความหมายว่าพันธกิจ หรืออย่างที่หลายคนเข้าใจกันว่า จุดประสงค์ในการทำตามเป้าหมาย ให้สำเร็จลุล่วงด้วยระยะเวลาอันสั้น ซึ่งความหมายที่แท้จริง และใช้ในวงการธุรกิจ คำว่า Mission นี้คือ การบ่งบอกถึงจุดประสงค์ที่องค์กรต้องการที่จะทำ ให้ประสบความสำเร็จตั้งแต่ระยะกลาง ที่จะปรากฎผลให้เห็นในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างชัดเจน
ยกตัวอย่างเช่น หากองค์กรหรือบริษัทของคุณ กำลังทำผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ แน่นอนว่า การตั้ง มิสชั่นที่จะให้ลุล่วงในระยะเวลาไม่นาน คุณมีเป้าหมายอย่างไรที่จะทำให้ลูกค้า มีความประทับใจในตัวสินค้าของคุณ หรืออาจจะเป็นการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ในการทำธุรกิจหรือการดำเนินองค์กร ซึ่งสำหรับคำว่า มิสชั่นจะเป็นการบ่งบอกว่าธุรกิจหรือองค์กรของคุณนั้น เป็นอย่างไรในปัจจุบัน และ ต้องการดำเนินธุรกิจแบบใด หรืออาจจะบ่งบอกถึง สิ่งที่คุณกำลังนำเสนอ และ ตอบสนองให้กับลูกค้า ด้วยสินค้าผลิตภัณฑ์ของทางธุรกิจ หรือไม่อาจจะเป็นการบริการของคุณนั่นเอง
องค์กรส่วนใหญ่ควรจะตั้ง Mission เป็นอย่างไร
และแน่นอนว่าในตอนนี้ยังมีอีกหลายคน ที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ อาจจะมีความคิดที่ขัดแย้งกันว่า การตั้งพันธกิจ และการตั้งวิสัยทัศน์ขององค์กร นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ดังนั้นในวันนี้ผู้เขียนจึงขอยกตัวอย่าง การตั้งมิสชั่นในองค์กรที่บอกได้เลยว่า มีความแตกต่างกับการตั้งวิสชั่น หรือ วิสัยทัศน์อย่างสิ้นเชิง ซึ่งจะมีตัวอย่างอะไรกันบ้าง เราไปดูกันเลย
- การตั้งพันธกิจอันดับแรก เราจะต้องรู้ก่อนว่าองค์กรของเรานั้น มีความ้องการจะทำอะไร ยกตัวอย่างเช่น หากเราทราบแล้วว่า องค์กรของเรานั้นต้องการทำผลิตภัณฑ์ ในเรื่องของการเสริมความงามที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ แน่นอนว่าสิ่งที่จะตั้งพันธกิจเป็นอันดับแรก คือ เราจะต้องกำหนดว่า เราจะผลิตสินค้า หรือบริการชิ้นใด เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้า ในด้านของความสวยความงามได้ดีที่สุด
- อันดับที่ 2 เราต้องทราบก่อนว่า เราทำ Mission มาเพื่อใคร สำหรับตัวอย่างที่ ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างไปในข้อแรกนั้น คือ การทำผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสินค้า ในด้านความสวยความงาม ซึ่งแน่นอนว่า กลุ่มลูกค้าของเรานั้น ก็คือ คุณผู้หญิงที่ต้องการเสริมสวย หรือผู้หญิงคนไหนที่ต้องการผลิตภัณฑ์ เพื่อเสริมสร้างความชุ่มชื้นบนใบหน้า ความสวยงามให้กับตนเอง เป็นต้น ดังนั้นการตั้งพันธกิจ ควรที่จะกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ก่อนที่จะทำการเริ่มทำผลิตภัณฑ์นั่นเอง
- อันดับที่ 3 เราต้องทราบก่อนว่าผลิตภัณฑ์ ที่เรากำหนดขึ้นมาจะต้องทำอย่างไร การทำอย่างไรในที่นี้นั่นก็คือ กระบวนการการผลิตที่จะผลิต ออกมาให้ตรงสเปคที่ต้องการ แน่นอนว่าเราจะต้องคิดหรือกำหนดมิสชั่น ว่า เราจะต้องผลิตอย่างมีคุณภาพ และตรงตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพขององค์กร เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และจะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมา สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้เป็นอย่างดี
ยกตัวอย่างการตั้ง Vision ในยุคปัจจุบัน
- ภายใน 2 ปีข้างหน้ายอดขายของบริษัทจะต้องพุ่งขึ้นกว่าไตรมาสแรก 2 เท่าตัว
- การพัฒนาองค์กรในด้านของ ศักยภาพในการทำงานจำเป็นต้อง เปลี่ยนไปในทางที่ดีมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมในปีหน้า
- องค์กรของเราต้องเป็นผู้นำในธุรกิจ ด้านอิเล็กทรอนิกส์สากล เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น ให้กับบุคลากรภายในองค์กร รวมถึงการเจริญเติบโตขององค์กร
ยกตัวอย่างการตั้ง Mission ในปัจจุบัน
- ภายในเดือนหน้าบริษัทต้องเร่งผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ออกมาตามจำนวนที่กำหนด เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ที่เป็นดั่งพระเจ้าของเรา
- ตั้งเป้ากำไรจากยอดขาย ในไตรมาสใหม่ที่ใกล้จะถึงนี้ ด้วยการผลิตสินค้า และผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมแบบใหม่
- ผลิตสินค้าไลน์ใหม่ออกมา ให้ทันในเทศกาลคริสต์มาสที่ใกล้จะถึงนี้ พร้อมวางจำหน่ายในช่วงเวลาที่กำหนด
ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า จากการที่หลายคนได้อ่านบทความ ที่เราได้แบ่งปันความรู้ไปด้านบนนี้แล้ว จะต้องเข้าใจความหมายของคำว่า Mission และ Vision ได้มากกว่าเดิมอย่างแน่นอน ซึ่งบอกได้เลยว่า การทราบความหมายของ 2 คำนี้ ส่งผลต่อการทำงานของทุกคนอย่างแน่นอน เพราะในการสมัครงานเข้าสู่องค์กร หรือแม้กระทั่งการติดต่อโปรเจคงาน ทางบริษัทหรือผู้ที่จ้างงานส่วนมาก ค่อนข้างให้ความสำคัญกับคำทั้ง 2 คำนี้เป็นอย่างมาก
ถ้าหากว่าคุณไม่รู้จักความหมายของสองคำนี้เลย เมื่อมีการพูดคุย หรือการแจกจงระเบียบงาน อาจจะทำให้คุณนั้นไม่สามารถทำตามพันธกิจ และวิสัยทัศน์ของที่ทางบริษัทได้กำหนดขึ้นมาได้อย่างเต็มที่ และตรงตามที่องค์กรต้องการ แต่เมื่อคุณได้ทราบถึงความหมายอย่างละเอียด คุณจะสามารถทำตามแบบแผนขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งยังสามารถพัฒนาอนาคตในการทำงานได้อย่างแน่นอน